รังสี UV อันตรายต่อดวงตา




      

พลังงานจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลก เป็นพลังงานที่มาในรูปการแผ่รังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic radiation) รังสีที่แผ่ออกมานี้มีแถบความยาวคลื่น (Wavelength)ต่างๆกัน ทำให้เกิดพลังงานที่แตกต่างกัน 

แบ่งได้เป็น จำพวกใหญ่ ๆ ได้แก่

1) รังสีในช่วง UV
2) รังสีในช่วงที่มองเห็นได้ (Visible light)
3) รังสีในช่วงอินฟราเรด (Infrared)รังสีในช่วง UV (ช่วงความยาวคลื่น100-400 nanometers)



1. รังสีในช่วง UV (ช่วงความยาวคลื่น 100-400 nanometers)



             รังสีในช่วง UV นั้นไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่แท้จริงแล้วมีความร้อน และมีผลโดยตรงต่อผิวหนังของมนุษย์ ทำให้เม็ดสีในผิวหนังเปลี่ยนแปลง รวมถึงก่อให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง หรือเรียกรังสีช่วงนี้ว่า UV 400 (Ultraviolet 400) ก็คือ ช่วงความยาวคลื่นของรังสียูวีทั้งหมด นับตั้งแต่ความยาวคลื่น 100 - 400 นาโนเมตร ซึ่งเป็นช่วงคลื่นความยาวที่สามารถผ่านชั้นบรรยากาศสู่พื้นผิวโลกได้ พร้อมทั้งยังส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกได้อีกด้วย โดยในรังสี UV400 นั้นยังประกอบไปด้วยรังสี UVC, UVB, UVA และ UV-Tmax


· UVC : ช่วงความยาวคลื่น 100 - 280 นาโนเมตร เป็นคลื่นรังสีที่อันตรายแต่ไม่สามารถผ่านเข้าสู่พื้นผิวโลก           ได้  อันเนื่องมาจากถูกชั้นโอโซนดูดซัพเอาไว้ 
· UVB : ช่วงความยาวคลื่น 280 – 315 นาโนเมตร เป็นรังสียูวีที่มีคลื่นความยาวสั้นแต่พลังงานสูง มีอยู่ 5%          ใน แสงแดด สามารถทะลุผ่านชั้นโอโซนมาได้แต่ก็ผ่านมาได้ไม่ทั้งหมด โดยส่งผลกระทบที่เห็นได้          ชัดเจน คือ การเปลี่ยนสีผิวที่ชัดเจนเมื่อสัมผัสกับแดดโดยตรง เกิดการหลุดลอกของชั้นผิวหนัง                กำพร้า 
· UVA : อยู่ในช่วงความยาวคลื่น 315-400 นาโนเมตร มีมากถึงกว่า 90 % ในแสงแดด ส่งผลกระทบต่อ              ผิวหนังของมนุษย์ โดยจะทำลายคอลลาเจนใต้ชั้นผิว ก่อให้เกิดรอยเหี่ยวย่น จุดด่างดำ
· UV-Tmax : อยู่ในช่วงความยาวคลื่น 380-400 นาโนเมตร ถึดจากจาก UVA ซึ่งนับเป็นช่วงความยาวคลื่นที่        อันตรายที่สุดและมีความเข้มข้นสูง ส่งผลกระทบต่อระบบเซลล์ใต้ชั้นผิวหนังนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง        ของ DNA อันเป็นเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง ซึ่งรังสีในช่วงนี้โดยปกติรังสีในช่วง          UV คิดเป็น 3% ของพลังงานทั้งหมดของดวงอาทิตย์ที่แผ่มายังโลก


2. รังสีในช่วงที่มองเห็นได้ หรือ Visible light (ช่วงความยาวคลื่น 380-780 nanometers)

รังสีในช่วงที่มองเห็นได้นี้ ก็คือแสงอาทิตย์นั้นเอง รังสีในช่วงนี้จึงมีความสำคัญต่อมนุษย์อย่างมาก เพราะเป็นรังสีช่วงเดียวจากดวงอาทิตย์ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จำแนกแบ่งรังสีชนิดนี้ได้ 7 ชนิดตามแถบความยาวคลื่น ซึ่งเรามักจะคุ้นเคยกับแถบทั้ง 7 ชนิดของรังสีชนิดนี้อยู่แล้ว นั้นก็คือแถบ 7 สีของสายรุ้งนั้นเอง ประกอบไปด้วยสี ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง ตามลำดับ รังสีในช่วงนี้มีทั้งความสว่างที่มนุษย์ต้องการ และความร้อนที่เราไม่ต้องการ

นอกจากนี้แล้ว ช่วงความยาวคลื่น 400-500 เรายังพบช่วงแสงสีฟ้า หรือ Blue Light ซึ่งเป็นช่วงคลื่นที่อันตรายที่สุดต่อดวงตาอีกด้วย ดังนั้นการใช้ฟิล์มกรองแสงที่ป้องกันความร้อนในช่วงรังสีนี้ จะทำให้แสงสว่างที่ส่องผ่านเข้ามาน้อยลงไปด้วย จึงควรเลือกใช้ฟิล์มให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานและความต้องการในการใช้แสง สว่าง โดยปกติรังสีในช่วงที่มองเห็นได้ จะมีพลังงานคิดเป็น 44% ของพลังงานทั้งหมดของดวงอาทิตย์ที่แผ่มายังโลก


 


 
3. รังสีอินฟราเรด หรือ Infrared (ช่วงความยาวคลื่น 700-2400 nanometers)
รังสีในช่วงอินฟราเรดเป็นรังสีที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เป็นรังสีที่ให้ความร้อนสูง หรือเป็นคลื่นความร้อนนั่นเอง สามารถรับรู้ได้ด้วยความรู้สึกว่าร้อน แม้ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่คลื่นความร้อนนี้คิดเป็น 53% ของพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่แผ่มายังโลก

จะเห็นได้ว่ารังสีที่แผ่จากดวงอาทิตย์นั้นมีประโยชน์ต่อทุกชีวิตบนโลก อย่าง มาก แต่กระนั้นก็มีโทษมหันต์เช่นกัน ทั้งการก่อปัญหาด้านความร้อนเกินความต้องการ และปัญหาด้านสุขภาพ อาทิเช่นมะเร็งผิวหหนัง ดังนั้นการเลือกอุปกรณ์ที่จะช่วยป้องกันรังสีเหล่านี้ เช่นการติดฟิล์มกรองแสง จึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาหาข้อมูลในเรื่องนี้ให้ เข้าใจถ่องแท้เสียก่อน



          แว่นกันแดด เป็นอุปกรณ์ถนอมสายตารูปแบบหนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันอันตรายหรืออาการระคายเคือง              ตาจากแสงอาทิตย์ และแสงพลังงานสูง (HEV) บางครั้งมีหน้าที่ช่วยเหลือด้านการมองเห็น โดยจะมีเลนส์ที่              เป็นสีสัน กรองแสง และทำให้มืด

ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพแนะนำให้ป้องกันดวงตาเมื่อใดก็ตามที่แสงอาทิตย์ส่อง[1] เพื่อป้องกันสายตาจากรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) และแสงสีฟ้า ที่อาจทำให้เกิดปัญหาทางสายตาได้ แว่นกันแดดเป็นสิ่งจำเป็นทันทีหลังจากได้รับการผ่าตัด เช่น อินทราเลสิก (IntraLASIK) และเป็นที่แนะนำให้ใช้ตามเวลาที่กำหนดในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยฝุ่นละออง ขณะออกจากบ้านหรืออยู่หน้าจอโทรทัศน์ หรือคอมพิวเตอร์หลังจากผ่าตัดเลเส็ก (LASEK) แว่นกันแดดได้เข้ามามีบทบาทกับผู้มีชื่อเสียง และนักแสดงภาพยนตร์ หากเขาต้องการปกปิดตัวตน ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1940 แว่นกันแดดได้รับความนิยม ถือว่าเป็นเครื่องประดับตามแฟชัน โดยเฉพาะตามชายหาด นอกเหนือจากนี้ แว่นกันแดดยังเป็นสิ่งที่หลายคนนั้นขาดไม่ได้ เพราะถือเป็นหนึ่งในเครื่องแต่งกายที่จะช่วยเสริมให้ผู้ส่วมใส่นั้นดูดียิ่งขึ้น

ประโยชน์ของการใส่แว่นกันแดด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น